“โอ๊ย! ไม่นะ สิวเห่อขึ้นเต็มหน้าเลย ทำยังไงดี?” ปัญหาบนใบหน้าหลัก ๆ ของใครหลายคนคงจะไม่พ้นเรื่อง สิว เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดบนหน้าแล้ว ยังทำให้รู้สึกไม่มั่นใจใบหน้าของตนเองอีก หลาย ๆ ครั้งพยายามหายามารักษาก็ไม่หาย บางทีกลับเห่อขึ้นมามากกว่าเดิมอีก! ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าหากเราเข้าใจว่าสิวบนใบหน้าของเรานั้นคือสิวประเภทอะไร จะได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดนั่นเอง
สิว คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยปกติแล้ว สิวเกิดจากการที่ต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินไปและชั้นผิวหนังเริ่มหนาขึ้น จนไขมันไปอุดตัน สะสมอยู่ภายในรูขุมขน ทำให้เกิดอาการอักเสบแบบไม่รุนแรงใต้ผิวหนังและก่อให้เกิดเป็นสิวประเภทต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ หากรูขุมขนที่อุดตัน เกิดการหมักหมมหรือไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดี แบคทีเรีย P.acnes จะย่อยไขมันภายในรูขุมขนนั้นเป็นอาหาร ซึ่งจะไปกระตุ้นการอักเสบให้หนักมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นสิวอักเสบนั่นเอง ซึ่งสาเหตุการเกิดสิวนั้น อาจจะมาจากฮอร์โมนภายในร่างกาย ความเครียด หรือแม้กระทั่งจากแพ้สเตียรอยด์ที่เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องสำอาง ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของการเกิดสิวแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิวบนใบหน้าของเราคือสิวประเภทอะไรกันนะ?
จริง ๆ แล้ว สิว แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท?
ที่จริงแล้วสิวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ และในแต่ละประเภทจะแบ่งแยกย่อยไปอีกตามลักษณะหรือขนาดความรุนแรงของการอักเสบ ซึ่งจะแบ่งได้ตามนี้ คือ
- สิวอุดตัน/สิวเสี้ยน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณจมูก คางและใต้ริมฝีปาก โดยจะมีลักษณะคล้ายสิวอุดตันหัวดำและมีกระจุกขนเล็ก ๆ หลายเส้นรวมกันอยู่ในสิว พร้อมกับไขมันหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการอุดตัน โดยจะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท ได้แก่
- สิวหัวดำ (Blackheads) หรือสิวอุดตันหัวเปิด เกิดจากการสะสมของไขมัน แบคทีเรีย และเซลล์ผิวหนังที่ตาย จะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีดำ รูขุมขนจะเปิดออกจนเห็นหัวสิว โดยจะพบได้ที่บริเวณใบหน้า และผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณหลัง หน้าอก แขน หัวไหล่ และลำคอ เป็นต้น
- สิวหัวขาว (Whiteheads) หรือสิวอุดตันหัวปิด เกิดจากการอุดตันเหมือนกัน แต่รูขุมขนจะปิด ทำให้มีลักษณะเป็นตุ่มนูน เหมือนเป็นไตก้อนเล็ก ๆ บีบออกยาก เมื่อปล่อยไว้เวลานาน อาจจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น และมีโอกาสกลายเป็นสิวอักเสบชนิดต่างๆ ได้
- สิวผด สิวหิน สิวเทียม (Acne Aestivalis) จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ สีแดง ไม่มีหัว จำนวนมาก เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกสาก ๆ เป็นเม็ดทราย มีอาการคันและแสบบริเวณที่เกิดสิวผด ซึ่งที่จริงแล้วสิวผดพัฒนามาจากผื่น เนื่องจากเมื่อเกิดผื่นขึ้น ต่อมไขมันก็จะผลิตไขมันออกมามากจนผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตัน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ เช่น หน้าผาก โหนกแก้ม ข้างจมูก คาง หรือแม้กระทั่งเกิดขึ้นบนแผ่นหลัง หรือหน้าอกของเราก็ได้
- สิวอักเสบ คือ สิวที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน เมื่อสิวอุดตันมีแบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่ในตุ่มสิว ทำให้สิวเกิดการอักเสบ บวมแดง หากไปสัมผัสก็อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ สิวอักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับขนาดของสิว และความรุนแรงของการอักเสบ ได้แก่
- สิวตุ่มแดง (Papule): เป็นตุ่มสิวสีแดงขนาดเล็ก ๆ แข็งนูน
- สิวหัวหนอง (Pustule): เป็นตุ่มแดงและปวด เริ่มมีหัวหนองสีเหลือง เนื่องจากแบคทีเรียเจริญเติบโตบริเวณต่อมเหงื่อและรูขุมขน
- สิวก้อนลึก (Nodular Acne): เป็นตุ่มสิวแดงขนาดใหญ่ลึกลงไปชั้นใต้ผิวหนัง มีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงมากขึ้นจากการที่แบคทีเรียเริ่มกระจายตัวอยู่ในชั้นใต้ผิวหนังมากขึ้น
- สิวซีสต์ (Cystic Acne): เป็นตุ่มสิวขนาดใหญ่เกิดจากถุงน้ำใต้ผิวหนังอักเสบ เนื่องจากภายในมีหนองอักเสบ
- สิวหัวช้าง (Acne Conglobata): เป็นสิวที่มีอาการอักเสบขั้นรุนแรง เนื่องจากสิวชนิดนี้จะมีอาการร่วมของสิวหัวหนอง สิวก้อนลึกและสิวซีสต์อยู่ด้วยกัน มีหนองไหลอยู่ตลอดเวลา โอกาสติดเชื้อง่าย ควรรีบทำการรักษาหรือปรึกษาแพทย์โดยด่วน
หากแบ่งสิวอักเสบตามความรุนแรงของอาการอักเสบ จะมีทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1: อักเสบเล็กน้อย ไม่มีการอักเสบรุนแรง ตัวอย่างเช่น มีสิวตุ่มแดง/สิวหัวหนองในจำนวนน้อย
ระดับที่ 2: อักเสบปานกลาง อาการในระดับนี้ คือ มีสิวตุ่มแดงและสิวหัวหนองจำนวนมากทั่วบริเวณที่พบสิว/ทั่วใบหน้า
ระดับที่ 3: ค่อนข้างรุนแรง ในระดับนี้ แน่นอนว่าจะมีสิวตุ่มแดงและสิวหัวหนองจำนวนมาก และจะมีสิวอักเสบก้อนลึกเพิ่มมาในบางจุดบนใบหน้า รวมถึงหน้าอกและแผ่นหลัง
ระดับที่ 4: อักเสบรุนแรง ในระดับนี้ คือ มีสิวอักเสบก้อนลึกมากมาย และมีสิวหัวหนองอักเสบทั่วบริเวณที่มีสิว
แล้วเราจะมีวิธีการดูแลรักษาสิวแต่ละประเภทอย่างไรดี?
ส่วนใหญ่แล้วการรักษาสิว เราควรที่จะประเมินตนเองก่อนว่า สิวของเราอยู่ในประเภทไหน และเลือกใช้วิธีให้เหมาะสมกับสิวประเภทนั้น ๆ เช่น
- สิวเสี้ยน/สิวอุดตัน
- ทายารักษาสิวเสี้ยน ยารักษาสิวเสี้ยนที่มีกรดวิตามินเอ (retinoic acid) มีคุณสมบัติช่วยลดการอุดตันในต่อมไขมัน ช่วยป้องกันการเกิดสิวเสี้ยนใหม่ แต่กรดวิตามินเอทำให้ผิวหนัง sensitive มากกว่าปกติ อาจจะทำให้ผิวแห้ง แสบและลอก หน้าแดงได้ จึงควรทาเฉพาะบริเวณจมูก หน้าผาก หรือคางที่มีสิวเสี้ยน แค่วันละ 1 ครั้งก่อนนอน หลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตา รอบจมูก หรือรอบปากซึ่งผิวหนังบริเวณดังกล่าวนี้บางกว่าบริเวณอื่น
- ใช้แผ่นลอกสิวเสี้ยน เริ่มจากการใช้แผ่นสิวเสี้ยนบนจมูกที่เปียก ที่สำคัญคือแผ่นแปะสิวเสี้ยนต้องแนบสนิทไปกับผิว ทิ้งไว้ 10-15 นาที รอจนแห้ง แล้วดึงแผ่นลอกสิวเสี้ยนในทางที่ย้อนรูขุมขน คือเริ่มจากที่ปลายด้านข้าง ดึงเข้าหาจมูกพร้อม ๆ กันแล้วดึงขึ้นไปด้านบนเพื่อย้อนรูขุมขน หลังจากนั้นให้ล้างคราบแผ่นลอกสิวเสี้ยนด้วยน้ำเย็นเพื่อช่วยปิดรูขุมขน
- Laser ส่วนใหญ่แล้ว การใช้เลเซอร์สามารถกำจัดจุดดำจากสิวเสี้ยนได้มากกว่าร้อยละ 50 และเมื่อทำหลาย ๆ ครั้งสามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้เกือบหมด แต่เลเซอร์ไม่ช่วยทำให้รูขุมขนเล็กลง และรูขุมขนที่กว้างอาจทำให้เกิดสิวเสี้ยนได้อีก วิธีนี้ใช้ได้ผลดีในกรณีของสิวเสี้ยนหัวดำ แต่เป็นวิธีที่มีค่าบริการค่อนข้างแพง
- สิวอักเสบ โดยทั่วไปหากสิวอักเสบยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การเลือกซื้อยาทารักษาสิวจากเภสัชกรที่มีใบรับรอง อย่างถูกต้องตามร้านขายยาถือเป็นที่นิยมมากที่สุด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาเรตินอยด์ ยากลุ่ม Benzoyl peroxide หรือ ยาคุมกำเนิด (หากสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน) แต่ถ้าหากสิวอักเสบเริ่มทวีคูณความรุนแรงและการใช้ยาที่ซื้อตามร้านขายยาไม่สามารถทุเลาการอักเสบลงได้ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัย และดำเนินการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือ เราต้องดูแลรักษาความสะอาดผิวหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการอักเสบเพิ่มขึ้นที่อาจเกิดจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ โดยควรเลือกใช้โฟมล้างหน้าที่อ่อนโยนและเหมาะกับชนิดผิวของคุณ เช่น Riviera Suisse Foam ที่เป็นโฟมล้างหน้าเนื้อนุ่ม ทำความสะอาดได้อย่างล้ำลึกและอ่อนโยน เหมาะกับทุกสภาพผิว ให้ความชุ่มชื้นหลังจากการล้างหน้าโดยไม่ทำให้ผิวหนังแห้งตึงด้วยสาร Amisoft CS-22
นอกจากนี้เราก็ควรใช้ยารักษาสิวเพื่อลดอาการอักเสบของสิวและทำให้สิวหายขาดด้วย Face Skin Control เมื่อทาสิวอักเสบที่เพิ่งเกิดใหม่ จะยุบภายใน 6 ชั่วโมง โดยมีนวัตกรรมผงแร่ซิลเวอร์บริสุทธิ์ (Microsilver) ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวอักเสบ ซึ่งไม่เป็นอันตรายและใช้ได้กับทุกสภาพผิว ทำให้ผิวถูกฟื้นฟู กระตุ้นการสมานเซลล์ผิวที่ถูกทำลาย ทำให้ผิวกลับมามีสมดุลอีกครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถลดรอยแดงจากสิวด้วยสาร Bimiol BSC® และยังช่วยควบคุมความมันบริเวณทีโซนได้อีกด้วย
สรุป
การรักษาสิวที่ดีนั้น เราควรที่จะรู้ว่าสิวที่อยู่บนในหน้าของเราคือสิวประเภทอะไร เนื่องจากสิวแต่ละประเภทก็มีวิธีการรักษาสิวที่แตกต่างกัน โดยอาจจะลองสอบถามกับเภสัชกรถ้าหากเราต้องการยารักษา หรือถ้าหากสิวนั้นแลดูมีอาการอักเสบมากหรือบนลามไปทั่วใบหน้า ควรที่จะลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงก่อนรับการรักษา อย่างไรก็ตามเราควรที่จะดูแลใบหน้าของเราให้ดี หมั่นทำความสะอาดใบหน้าอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกบนใบหน้าที่เป็นสาเหตุหลักในการเกิดสิว
Source: Pobpad.com, Thairath.co.th, phramabeautycare.com